นศ.สาขาภาษาไทย คณะมนุษย์ สร้างชื่อ คว้ารางวัลรองชนะเลิศ/ชมเชย “ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ดิจิทัล ปีที่ 19 : The hybrid ”

________เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2565  นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้เข้าร่วมการประกวดใน โครงการเส้นทางสู่ดวงดาว : ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ดิจิทัล ปีที่ 19 : The hybrid  ซึ่งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล สำนักวิชาศาสตร์และศิลป์ดิจิทัล  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดขึ้น  เพื่อให้เยาวชนได้แสดงความสามารถในการใช้ภาษาไทยในการปฏิบัติงานผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์  และให้ความรู้แก่เยาวชนเกี่ยวกับวิชาชีพสื่อมวลชนในแขนงผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์  เพื่อให้เยาวชนได้ฝึกทักษะในการใช้ภาษาไทยในการปฏิบัติงานผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์  โดยจัดประกวดระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษา ผู้ที่มีความสนใจในงานด้านประกาศข่าวโทรทัศน์ และมีอายุไม่เกิน 25 ปี  เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมทักษะการเป็นผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์มืออาชีพ  

________  ในการแข่งขันครั้งนี้  นายพรหมภพ  วอหา  และ นางสาวชลลดา  คิดค้า นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมการประกวดผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom ไปเมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 และผ่านรอบคัดเลือก (Audition Round) จากการส่งคลิปการอ่านข่าวตามโจทย์ที่ได้รับ (ใช้เทคนิควิธีการอ่านแบบใดก็ได้ เช่น อ่านจากเอกสาร อ่านผ่านจอคอมพิวเตอร์ ฯลฯ) เมื่อวันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม 2565 และได้ผ่านการคัดเลือกจากคณะะกรรมการเป็น 1 ใน 15 คน ได้เข้าสู่การประกวดในรอบชิงชนะเลิศ เมื่อวันพุธที่ 21 กันยายน 2565  ต้องอ่านข่าว ต่อหน้าคณะกรรมการ ณ ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

________  ผลของการประกวด รอบชิงชนะเลิศ (Final Round)  จากการประกวดโครงการเส้นทางสู่ดวงดาว : ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ดิจิทัล ปีที่ 19 : The hybrid ระดับอุดมศึกษา นายพรหมภพ  วอหา นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1  ได้รับเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และทุนการศึกษา 6,000 บาท   นางสาวชลลดา   คิดค้า ได้รับรางวัลชมเชย  ได้รับเกียรติบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และทุนการศึกษา 6,000 บาท

นายพรหมภพ  วอหา
นางสาวชลลดา  คิดค้า

________นับว่าเป็นอีกเส้นทางของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์   ได้โอกาสนำความรู้ด้านการใช้ภาษาไทยจากชั้นเรียนไปใช้ในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยเฉพาะในแขนงผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ ถือเป็นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 เตรียมความพร้อมเข้าสู่การเข้าสู่ยุคดิจิทัลและชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)  และนำทักษะการใช้ภาษาไทยในงานผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์  ได้แสดงออกในทางสร้างสรรค์อย่างมั่นใจ กระทั่งคว้ารางวัลมาในที่สุด

ข่าว   :   วัชรา  น้อยชมภู

นายพรหมภพ  วอหา
นางสาวชลลดา  คิดค้า 

 

Scroll to Top