มข. จัดอบรม STEAM Education ปลูกฝังแนวคิดพัฒนาเทคโนโลยี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2565 เวลา 13.00 – 14.30 น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ร่วมมือกับ บริษัท Toyo System Co., LTD. และ The Mathematics Certification Institute of Japan และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด จัดสัมมนา “University-Industry Collaboration seminar” ภายใต้หัวข้อ “Development of Environmental Consciousness in Problem-Solving based on STEAM Education” ในโครงการสร้างจิตสำนักทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEM Education ในการแก้ปัญหา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์  รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวเปิดงาน และมี Mr. Hideki Shoji Chairman of the Board, President & CEO of TOYO SYSTEM Co., LTD.  Keynote Speaker เป็นวิทยากร ในหัวข้อ“Corporate Social Responsibility” ร่วมบรรยายผ่านทางออนไลน์ จากประเทศญี่ปุ่น โดยมี นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมออนไลน์ และในห้องประชุมชั้น 4  ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน

กิจกรรมการสัมมนาในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการ “สร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education หรือ แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการ   โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้และสามารถนาองค์ความรู้ ไปพัฒนาจนเกิดทักษะในการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ   ในการแก้ปัญหา” ร่วมกันระหว่าง 4 องค์กร จาก 2 ประเทศ ได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น บริษัท Toyo System ประเทศญี่ปุ่น สถาบันรับรองสมรรถนะทางคณิตศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น (SUKEN Japan)  และ มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด โดยมี วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง Education and academic transformation โดยเป้าหมายหลักเพื่อมุ่งส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงพร้อมกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตอบโจทย์เรื่อง SDG ที่มหาวิทยาลัยกำลังขับเคลื่อน และสนับสนุนการจัดการศึกษาในทิศทางของโลก

             รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์  รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน  กล่าวว่า   ตามที่หลายท่านอาจจะทราบแล้วว่า บริษัท TOYO SYSTEM ได้ทำ CSV กับ เมือง อิวากิ จังหวัด Fukushima ที่สามารถพลิกฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ในช่วงปี 1910 – 1972 รวมทั้งเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima เป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นพบ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี แต่กรณีที่ Fukushima สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ประธาน Shoji จึงมองเห็นว่า หากในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากกว่านี้  แต่ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education

“โดยวิทยากรที่ท่านให้เกียรติมาบรรยายนั้น ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญผู้ประสบความสำเร็จ ได้เห็นตัวอย่างผลกระทบ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมที่นำโรคร้ายหลายอย่างมาสู่คน ในประเทศญี่ปุ่น CSV กับ เมือง อิวากิ จังหวัด Fukushima ที่สามารถพลิกฟื้นให้ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของไฮโดรเจน เมื่อปี 2011 สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาซึ่งก่อให้เกิดโรคภัยต่างๆ ในช่วงปี 1910 – 1972 รวมทั้งเหตุการณ์ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Hiroshima เป็นประสบการณ์ที่คนญี่ปุ่นพบ อันเป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยี แต่กรณีที่ Fukushima สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ซึ่งเป็นผลมาจากการให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ท่านประธาน Shoji จึงมองเห็นว่า หากในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีการพัฒนาเทคโนโลยีไปมากกว่านี้  แต่ถ้าขาดการสร้างความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะประสบปัญหาเหมือนประเทศญี่ปุ่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ท่านจึงมีความตั้งใจอย่างสูงในการทำความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในการสร้างจิตสำนึกทางสิ่งแวดล้อม โดยใช้ STEAM Education”

การจัดงานครั้งนี้ เพื่อให้ผู้คนตระหนึกถึง การพัฒนาพลังงานโดยคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม  การควบคุมและใช้ประโยชน์พลังงานจากไฮโดรเจน และเห็นความสำคัญของความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ mathematical thinking สอดคล้องกับการให้บริการทางวิชาการแนวใหม่ (Academic Service Transformation) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาของสังคม (Center of Social Wisdom) พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนการบริการวิชาการจากความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) สู่การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Value : CSV) เพื่อสร้างการสร้างจิตสำนึก และให้เกิดความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การพัฒนาการเรียนรู้ที่อาศัย เรื่อง STEAM Education สำหรับ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้สนใจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

               Mr. Hideki Shoji Chairman of the Board, President & CEO of TOYO SYSTEM Co., LTD.  กล่าวว่า ปลายศตวรรษที่ 18 อุตสาหกรรม ทำให้ชีวิตมนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น คนตามภูมิภาคย้ายเข้ามาในเมืองใหญ่หมด ทำให้มีปัญหาเกิดขึ้น  ในขณะนั้นต้องยอมรับว่าวงการอุตสาหกรรมถนอมรักษาสิ่งแวดล้อมน้อยไป   กล่าวคือยังไม่สามารถคิดผสานระหว่างเทคโนโลยีและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้   ฉะนั้นทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน ได้แก่ คุณภาพน้ำ  อากาศ  ของเสีย และสิ่งรบกวน  ด้านคุณภาพน้ำ ขาดไม่ได้ในชีวิต แต่เมื่อปนเปื้อนสกปรก จากการทำธุรกิจอุตสาหกรรมของเราต้องคิดคำนึงสิ่งนี้ให้มาก   อากาศ ทราบมาว่าที่กรุงเทพฯ ประเทศไทยมีปัญหาอย่างมาก  จึงควรหันไปใช้พลังงานทดแทน สำหรับยานพาหนะ  เพราะทั่วโลกมีการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ( CO2) ปล่อยออกมาจำนวนมาก ทั่วโลกพยายามไปใช้รถไฟฟ้า แต่อย่าลืมว่าไฟที่ใช้ชาร์จ มาจากไหนมีต้นทุนผลิตที่ทำให้เกิดสาพิษสู่อากาศอยู่ดี   ซึ่งทางบริษัทของเราคาดว่าจะสามารถคิดค้นพลังงานสะอาดอย่างแท้จริง ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาราว 10 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามได้โปรดอย่าละความพยายามที่จะคิดค้นนวัตกรรมที่สบายสะดวกสำหรับมนุษย์ ใช้หลักการ STEAM Education การที่เราจะผลิตสิ่งใหม่นี้ สตรีมมีความจำเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามให้คำนึงถึงผู้อื่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด เพื่อลดของเสีย  และพัฒนาวงการอุตสาหกรรมให้เกิดสิ่งรบกวนต่อโลกของเรา

“อย่างไรก็ตามอยากให้ไทยเรียนรู้จากความผิดพลาดจากประเทศญี่ปุ่น ให้บริษัทเราเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นตัวอย่างในการพัฒนาประเทศของท่าน หวังว่าญี่ปุ่นและไทย จะพัฒนาเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลูกฝังให้เด็กนักเรียน ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม  โดยให้เห็นด้วยตาตัวเอง เช่น หากเราไม่สนใจสิ่งแวดล้อมแล้ว  ผลกระทบจะกลับมาที่ตัวมนุษย์อย่างไร”

             นาย อนุชา โคยะทา นักศึกษาปริญญาเอก ชั้น ปี 1 สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ กล่าวว่า    การอบรมครั้งนี้ทำให้ตนตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม เรียนรู้กับความผิดพลาด จากการพัฒนาเทคโนโลยี จนเล็งเห็นสิ่งแวดล้อมน้อยไป  ควรเอามาพัฒนาประเทศไทยต่อความรู้ใหม่คือ รถยนต์ไฟฟ้าดีต่อสิ่งแวดล้อมจนลืมคิดว่าไฟฟ้าก็มีต้นทุน การใช้น้ำมัน ซึ่งมันก็ยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ ต้นกำเนิดยังไม่มิตรกับสิ่งแวดล้อมจริง  เชื่อว่าในอนาคตจะเห็นเทคโนโลยี รถยนต์ใช้พลังงานน้ำ ไฮโดรเจน กว่าจะพัฒนานาได้ความหวังคือ 10 ปี ข้างหน้า

          “เราในฐานะนักการศึกษาคิดว่าจะนำความรู้ในการอบรม ไปใช้ในการจัดการศึกษาของเรา โดยปลูกฝังให้นักเรียนสร้างจิตสำนึก สร้างสถานการณ์ปัญหาดึงมาเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน ให้เขาเห็นปัญหาจริง ให้ตระหนักกับปัญหานั้น เด็กจะได้ใส่ใจ คิดหาทางช่วยกันในการแก้ไขปัญหาในสังคมไทย  เราอาจไม่ได้มองถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว ต้องมองถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมไปด้วย”   นักศึกษา ผู้ร่วมอบรมกล่าว

อย่างไรก็ตามการจัดสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 เพื่อสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การพัฒนาการเรียนรู้ที่อาศัย เรื่อง STEAM Education สำหรับ นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ข่าว : จิราพร  ประทุมชัย

ภาพ : สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

KKU runs a seminar on “ STEAM Education” with an aim to raise awareness of technological development and environmental friendliness

https://www.kku.ac.th/14256

 

Scroll to Top